วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

น้ำตกนาตราว

น้ำตกนาตราว อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ

น้ำตกนาตราว  อ.ภูสิงห์  จ.ศรีสะเกษ

น้ำตกนาตราว -ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ในท้องที่ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านเขาบอกว่าน้ำตกนี้ถ่ายรูปไม่ติดผมเลยลองเข้าไปถ่ายมา จากน้ำตกนี้ข้ามเขาอีกลูกก็ถึงฝั่งเขมรแล้ว 

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

น้ำตกภูละออ

น้ำตกภูละออ


          น้ำตกภูละออ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 221 (กันทรลักษ์-ผามออีแดง) ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ถึงบ้านภูมิซรอล เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางบ้านภูมิซรอล-น้ำตกสำโรงเกียรติ ประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายสู่น้ำตกภูละอออีก 2.5 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย
          น้ำตกภูละออ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่มีน้ำตกสวยงามในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ ทางเดินเท้าจากบริเวณลานจอดรถถึงน้ำตก ในระยะทางไปกลับประมาณ 4 กิโลเมตร ได้รับการพัฒนาให้เป็นเส้นทางที่ให้ความรู้เรื่องพืชพันธุ์และสภาพภูมิประเทศ ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวในลักษณะเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
 
 


                                                                File:40040-น้ำตกภูละออ.jpg
เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติที่น้ำตกภูละออ
อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลเสาธงชัย การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 221 (กันทรลักษ์-ผามออีแดง) ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ถึงบ้านภูมิซรอล-น้ำตกสำโรงเกียรติ ประมาณ 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายสู่น้ำตกภูละอออีก 2.5 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย 

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

พระพุทธบาทภูฝ้าย

พระพุทธบาทภูฝ้ายตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านภูฝ้าย ต.ภูฝ้าย อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระพุทธบาทภูฝ้าย ตั้งอยู่บนเขาภูฝ้าย โดยการสร้างจำลองขึ้นของพระในวัดบนภูเขาภูฝ้ายขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ในทุก ๆ ปี จะมีราษฎรจากตำบลต่าง ๆ ไปทำบุญ และกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันบนเขาภูฝ้ายได้จดทะเบียนจากกรมศิลปากร พื้นที่ 1,415 ไร่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่บนภูเขาสูง มีสำนักสงฆ์ 1 แห่ง พระภิกษุ 2 รูป สระน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรอยพระพุทธบาทจำลอง ตลอดจนสัตว์ป่า เช่นลิง

                                                                                                 


                                  ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
          ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม

ที่ตั้ง ปราสาทภูฝ้ายตั้งอยู่บนภูฝ้าย ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ระยะทาง ออกจากอำเภอขุนหาญ-อำเภอกันทรลักษ์ สายในซึ่งเป็นเส้นทางลัดตรง ระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านภูฝ้าย

สภาพทั่วไป


ภูฝ้ายจะเป็นภูเขาหินบริเวณเชิงเขาจะมีโรงงานโม่หินสำหรับนำไปก่อสร้าง แต่

ปัจจุบันได้ลดปริมาณการผลิตลง ส่วนพื้นที่ดินที่อยู่รอบๆ ทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ตำบลกระแซง อำเภอกันทรลักษ์ ทางทิศเหนือเป็นพื้นที่ตำบลไพรและทิศใต้เป็นพื้นที่ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จะเป็นเขตพื้นที่ที่มีเนื้อดินเป็นสีแดงอุดมสมบูรณ์เหมาะสมสำหรับปลูกพืชสวนและพืชไร่อย่างกว้างขวาง ส่วนทางทิศตะวันตกเป็นเขตที่ราบลุ่มห้วยทา ตอนบนเป็นพื้นที่นากว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มาก ภูฝ้ายเป็นสันปันน้ำทางตะวันออก น้ำจะรวมกันเป็นร่องน้ำไหลลงห้วยตามายทางซีกใต้และตะวันตกจะไหลลงมาห้วยทา เมื่อถึงเชิงเขาเดินด้วยเท้าขึ้นภูฝ้ายซึ่งสูงชันมาก แต่ก็มีเส้นทางเดินเท้า ที่สะดวกพอสมควร เมื่อถึงยอดเขาก็จะถึงที่ตั้งปราสาทซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของสันเขายอดเขาภูฝ้าย ปรางค์ปราสาทจะมี สามหลังเรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานหิน

เดียวกัน สภาพปรางค์ทั้งสามองค์ อยู่ในสภาพที่หักพังมาก ไม่ได้รับการบูรณะที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังถูกลักลอบขุดค้นทำลายเสียหายจนเหลือเพียงฐานปรางค์เศษอิฐดินเผาและหินที่เคยเป็นส่วนของปรางค์ปราสาทเกลื่อนกระจาย มีทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่สมบูรณ์และสวยงามมาก คล้ายกับทับหลังของปราสาทตำหนักไทร พระอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านพรานเกรงจะถูกขโมยจึงพาชาวบ้านนำไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านพราน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดสุพรรณรัตน์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เคยมีเจ้าหน้าที่
กรมศิลปากรมาขอ เพื่อนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย แต่ชาวบ้านรักและหวงแหนไม่ยอมมอบให้ ส่วนที่ยังปรากฏเห็นก็คือกำแพงแก้วก่อล้อมรอบองค์ปรางค์ปราสาทแห่งนี้มีความแปลกที่ไม่มีบารายอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวปราสาท ตามคิตขอม แต่กลับมีสระน้ำโบราณอยู่ทางทิศใต้ของภูฝ้าย ชาวบ้านเล่าว่าสระน้ำแห่งนี้ จะมีน้ำใสสะอาดใต้สระน้ำนี้จะมีช่องตาน้ำเชื่อมกับหนองน้ำขนาดใหญ่ที่บ้านกระมัล และหัวน้ำผุดที่อยู่ใกล้บ้านทุ่งเลน บ้านสำโรงเก่า และบ้านดอนข่า ที่มีเรื่องราวเล่าต่อกันมาว่าเคยเป็นที่ตั้ง

เมืองในสมัยโบราณ ปราสาทแห่งนี้จึงควรศึกษาค้นคว้าและบูรณะเพื่อให้เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีคุณค่า มีความหมายสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป


อายุปราสาท
พิจารณาจากพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่อยู่วัดสุพรรณรัตน์ อาจสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ แต่หากพิจารณาประติมากรรม ทับหลังนารายณ์ บรรทมสินธุ์อีกชิ้นซึ่งอยู่ที่ปราสาทภูฝ้ายหลังเล็กตะวันออกวัดภูฝ้ายซึ่งพังหมดแล้ว ด้านนอกมีศิลาเรียงไว้เป็นกำแพง ขนาด ๕๐x๓๕ เมตร ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่อบอกว่าเป็นฝีมือช่างท้องถิ่น เครื่องประดับและชฎามงกุฎของพระนารายณ์ น่าจะมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. ๑๕๐๐ ซึ่งเป็นศิลปะขอมแบบเกาะแกร์

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

พระธาตุเรืองรอง

                                           พระธาตุเรืองรอง

                                                 
                              

พระธาตุเรืองรอง ศรีสะเกษ
พระธาตุเรืองรอง  เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นโดยผสมศิลปอีสานใต้ "สี่เผ่าไทย" ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอ  เป็นพระธาตุที่สร้างแบบศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งมีความสวยงามและเป็น เอกลักษณ์อย่างลงตัว พระธาตุมีความสูง 49 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ชั้นครับ  
 
ชั้นที่ 1 ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
 
ชั้นที่ 2-3 ทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชนสี่เผ่าไทยของศรีสะเกษ คือ เขมร ส่วย ลาว เยอ
 
ชั้นที่ 4 ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 
 
ชั้นที่ 5 ใช้สำหรับการทำสมาธิ และ
 
ชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (เส้นผมพระอรหันต์) และเป็นที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
 
 
พระธาตุเรืองรอง ตั้งอยู่ที่วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จ.ศรีสะเกษ ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 62 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงสาย 226 (อุบล - ศรีสะเกษ) และห่างจากตัวเมืองศรีสะเกษไปตามทางหลวงหมายเลข 2373 สายศรีสะเกษ-ยางชุมน้อย  ประมาณ 7.5 กิโลเมตรครับ